แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ รุจิรา เรือนเหมย

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

แนวทางการเรียน มสธ. ป.โท

เล่าประสบการณ์ในการเรียนกับ มสธ.ของตัวเอง (ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการเรียนการสอนในแต่ละชุดวิชา)
ครั้งแรกที่ตัดสินใจเรียน มสธ. เพราะโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนที่เรียนไม่เก่ง ค่อนข้างขี้เกียจเรียนในห้องเรียน ชอบปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากกว่า ซึ่ง มสธ. ตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้ คือไม่ต้องมานั่ง Lecture จากอาจารย์ และแต่ละชุดวิชาจะพบอาจารย์ผู้สอนไม่เกิน 3 ครั้ง แต่... ผู้ที่จะเรียนในระบบนี้จะต้อง (ขีดเส้นใต้สีแดง 3 เส้น)
           1. มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองก่อนมาเรียน รวมไปถึงการตอบใบงาน งานนำเสนอแต่ละชิ้นที่จะต้องส่ง ตามกำหนดทุกชิ้น ทุกครั้ง (ระบุในแผนกิจกรรมการศึกษาซึ่งอธิบายไว้อย่างละเอียดและชัดเจน) เพราะมันคือคะแนนที่เราจะได้
           2. ระหว่างการเรียนหรือการนำเสนอ ในการสัมมนาแต่ละครั้งควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาท่านอื่นให้มากที่สุด เพราะเราจะได้ไอเดีย แนวคิดใหม่ๆ ประสบการณ์จากเพื่อนร่วมชั้นเรียน รวมไปถึงซักถามข้อสงสัยจากการค้นคว้าจากเอกสารประมวลสาระชุดวิชา หรือแนวการศึกษาชุดวิชา (ส่วนนี้ก็เป็นคะแนนเช่นเดียวกัน)
           3. การสอบ เป็นแบบอัตนัย เท่านั้น!!! และ อ่านโจทย์หรือคำสั่งให้ดี โจทย์มี 3 ข้อ แต่ให้เลือกตอบ 2 ข้อ ก็ต้องทำตามนั้น อย่าขยันตอบทั้งหมด การตอบ ให้อ้างอิงหลักการ แนวคิด หรือทฤษฎี ของใครก็ได้ที่เราชัวร์ที่สุด ในเรื่องที่เราจะตอบ (อย่าสลับทฤษฎีของ ไปให้ b) แล้วอธิบายบรรยายสิ่งที่เราอ้างอิง ในส่วนนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก กลัวว่าจะเป็นการสอนจระเข้ว่ายน้ำ และที่สำคัญที่สุด เขียนให้คนออกข้อสอบ อ่านออกด้วยนะคะ
ออ..!! อย่าลืมดูเวลาด้วยค่ะ เพราะเคยมีที่ว่า เขียนข้อแรกได้เยอะ แต่ข้อ 2 ได้นิดเดียว

การตอบคำถามตามใบงาน (ตามแนวการตอบของตัวเอง)
แต่ละชุดวิชาจะมีเอกสารที่เราได้รับคือ ประมวลสาระชุดวิชาและ แนวการศึกษาชุดวิชา ในส่วนนี้ จะเป็นแนวทางในการตอบคำถามของเราได้ โดยในเอกสาร จะมีแนวการตอบอยู่ใน แนวคิดและสาระสังเขป (ขีดเส้นใต้สีแดง 4 เส้น) และจะต้องตอบให้ครบและครอบคลุมตามจำนวนคำถาม เน้นแต่เนื้อหาสาระ ไม่ต้องอธิบายมาก ตอบตามจำนวนหน้าที่กำหนด และอย่าลืม!!! แหล่งอ้างอิงของข้อมูลที่เราค้นคว้ามา ไม่ว่าจะเป็นในเอกสารที่เราได้รับ จากอินเตอร์เน็ต บทความ วารสาร ฯลฯ
และที่สำคัญที่สุด ควรทำงานที่จะส่งในการสัมมนาแต่ละครั้งให้เสร็จก่อนจะไปสัมมนา อย่าบอกว่าขอส่งตอนบ่าย ส่งเช้าอีกวัน เพราะมันจะสื่อว่า เรายังไม่พร้อม ไม่เตรียมตัว ไม่มีการจัดสรรเวลาที่ดี

สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่าน "เรียนอย่างมีความสุข จบอย่างมีคุณภาพ" นะคะ

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

แหล่งอ้างอิง

เขียนและเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 27 ตุลาคม 2557 โดย นางสาวรุจิรา  เรือนเหมย


กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2523). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิต
กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2537). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง หลักการสอนวิชากระบวนการสอน
ในโรงเรียนประถมศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์.
ใจทิพย์ ณ สงชลา. (2550). วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ :
ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2526). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, หน่วยที่ 1 - 5.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สหมิตร.
ชินวัฒน์ ชิน ชุมพงษ์. (2551). ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2557,
จาก https://www.gotoknow.org/posts/195042
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.
พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ทิศนา แขมมณี . (2548). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : 
โรงพิมพ์เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา
พรรณี ช. เจนจิต. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เสริมสิน พรีเพรสซิสเทม.
สมจิตต์ สินธุชัย. (2556). ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2557, จาก
http://km-bcns.blogspot.com/2013/07/information-processing-theory.html
สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น :
คลังนานาวิทยา.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรนุช ลิมตศิริ. (2546). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการและแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สงขลา :
กลุ่มงานส่งเสริมและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Wichuda Keawchaum. (2556). ทฤษฎีการเรียนรู้การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 25 ตุลาคม 2557, จาก http://wichudatomtam.blogspot.com/2013/03/learning-
theory-student-center-learning.html


หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีทางการศึกษา

คลิก!! เพื่ออ่านรายละเอียด

เขียนและเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 27 ตุลาคม 2557 โดย นางสาวรุจิรา  เรือนเหมย

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

เขียนและเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 27 ตุลาคม 2557 โดย นางสาวรุจิรา  เรือนเหมย
นักการศึกษาษาหลายท่าน ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ ดังนี้
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นกระบวนการ (Process) ที่ต้องอาศัยระบบการจัดการ (Management) ที่ดี บนพื้นฐานของการปรับปรุงพัฒนา (Development) โดยการใช้ทรัพยากรการเรียน (Instructional Resources) ให้เหมาะสมกับผู้เรียน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526) ได้ให้นิยามไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วัสดุ และผลิตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์ โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิธีการ มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งด้านการบริหาร หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ มาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545) กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน แก้ไขปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความหมายไม่เพียงแต่เป็นวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยาและศาสตร์ในการจัดบริหารงานครอบคลุมทั้งด้านบริหารวิชาการและบริการ
สุมาลี ชัยเจริญ (2551) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การใช้แหล่งเรียนรู้ซึ่งประกอบไปด้วย สาร (Message) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิควิธีการ(Techniques and Setting) กระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา การสร้าง หรือผลิต การนำไปใช้ (Implementing) ตลอดจน การประเมินการแก้ปัญหานั้น (Evaluation)
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาแนวคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ การจัดระบบสารสนเทศ และสิ่งต่าง ๆ มาใช้ในการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน
Gane and Briggs (1974) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาจากการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ และความสนใจในเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
Good C. (1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ
คณะกรรมการกำหนดศัพท์ และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (AECT, 1977) อธิบายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อนเกี่ยวกับ บุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือและองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่างๆดังกล่าว ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ หรืออาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบ เลือก และนำมาใช้เพื่อมุ่งสู่จุดหมาย คือการเรียนรู้ นั่นเอง
จากความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ดังกล่าวข้างต้น ได้มีการขยายแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาเพราะการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ จากพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มาสู่ พุทธิปัญญานิยม (Cognitivism) และคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)
กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำแนวคิด เทคนิค กระบวนการ วิธีการ มาสร้างเครื่องมือเพื่อให้ผู้เรียนฝึกฝนและเกิดการเรียนรู้
x