แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ รุจิรา เรือนเหมย

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการทฤษฎีการบริหาร

วิชาการบริหารได้พัฒนามาตามลำดับเริ่มจากอดีตหรือการบริหารในระยะแรก ๆ นั้น มนุษย์ยังขาดประสบการณ์การบริหารจึงเป็นการลองผิดลองถูก การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ยังไม่แพร่หลายและกว้างขวางการเรียนรู้หลักการบางอย่างจึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองหรือมีการแลกเปลี่ยนกันในวงจำกัด ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามแบ่งยุคหรือวิวัฒนาการทางการบริหารแตกต่างออกไปดังนี้
อรุณ รักธรรมได้แบ่งวิวัฒนาการบริหารออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะเริ่มต้นเป็นระยะของการปูพื้นฐานและโครงสร้าง บุคคลสำคัญ ในระยะนี้ได้แก่ Woodrow Wilson, Leonard D. White, Frank T. Goodnow, Max weber, Frederick W. Taylor และ Henri Fayolเป็นต้น
2. ระยะกลางหรือระยะพฤติกรรมและภาวะแวดล้อม ผู้มีชื่อเสียงใน ระยะนี้ ได้แก่ Elton Mayo, Chester I. Barnard, Mary P. Folletเป็นต้น
3. ระยะที่สามหรือ ระยะปัจจุบัน มี Herbert A. Simon, Jame G. March เป็นผู้วางรากฐาน
นพพงษ์ บุญจิตราดุลได้แบ่งวิวัฒนาการของการบริหารออกเป็น 3 ยุค คือ
1. ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Era) ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ Frederick W. Taylor, Henri Fayol, Luther H. Gulickและ LyndallUrwick
2. ยุคการบริหารแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation Era) ผู้มี บทบาทสำคัญได้แก่ Mary P. Follet, Elton Mayo และ Fritz J. Rocthlisberger
3. ยุคทฤษฎีการบริหาร (The Era of Administrative Theory) เป็นยุคที่ ผสมผสานสองยุคแรกเข้าด้วยกันจึงเป็นยุคบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon
นอกจากนี้นักบริหารและนักวิชาการบางกลุ่มได้แบ่งวิวัฒนาการของการบริหารออกเป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคก่อนหรือยุคโบราณเริ่มตั้งแต่การมีสังคมมนุษย์จนถึงยุคก่อน Classical บุคคลสำคัญในยุคนี้ได้แก่ Socrates, Plato, Aristotle, Saint-Simen, Hegel, Robert Owen และ Charles Babbage
2. ยุค Classical เริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นยุคที่นำเครื่องจักร เครื่องมือทุ่นแรงเข้าไปใช้แทนกำลังคนจนกระทั่งได้เกิดแนวคิดในเรื่อง การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นการผลิต หรือให้ความสำคัญต่องานมาก ระบบการทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญ บุคคลสำคัญในยุคนี้ได้แก่
2.1 Henry R. Towne เป็นประธานบริษัทเยลและทาวน์ในสหรัฐอเมริกาได้เสนอบทความเรื่องวิศวกรในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเคลื่อนไหวทางแนวความคิดด้านการจัดการของศตวรรษต่อมา
2.2 Woodrow Wilson เขียนบทความเรื่อง The Study of Public Administration มีแนวคิดที่ต้องการแยกการบริหารของรัฐออกมาจากการเมือง
2.3 Frank T. Goodnowเขียนบทความเรื่อง Politics and Administration ซึ่งเป็นแนวความคิดคล้ายคลึงกับวิลสันและเน้นเรื่องการปรับปรุงระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพ ยึดระบบคุณธรรม (Merit System) ให้มีคณะกรรมการ รับผิดชอบ และมีหน่วยงานการบริหารบุคคลในทุกหน่วยงานมีการจำแนกตำแหน่ง เพื่อความเป็นธรรมในการจ้าง มีการกำหนดมาตรฐานและคุณสมบัติของบุคลากร
2.4 Leonard D. White ได้เขียนเรื่อง “Introduction to study of Public Administration" มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับ Goodnowและ Wilson เขายังได้เพิ่มเรื่องการเลื่อนขั้น วินัย ขวัญและเน้นเรื่องที่กู๊ดโนว์เขียนไว้อย่างละเอียด
2.5 Max Weber เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การบริหารราชการ (Bureaucracy) ถือว่าเป็นบิดาทางด้านบริหารราชการ มีแนวคิดของหลักการบริหารที่มีเหตุผลมีการแบ่งงานกันทำ มีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นลงมา มีผู้ชำนาญการในสายงานต่างๆการปฏิบัติงานต้องมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น
2.6 Frederick W. Taylor เป็นวิศวกรชาวเยอรมัน เป็นผู้เสนอวิธีการจัด การแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) สนใจหลักเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญหรือชำนาญเฉพาะอย่าง (Specialization) อันเป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นในการเข้าใจองค์การรูปนัยเพราะการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะอย่าง จำเป็นต้องมีการประสานงานอีกด้วย
2.7 Henri Fayolเป็นวิศวกรและนักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส ได้เสนอแนวคิดที่มีลักษณะเป็นสากลสำหรับนักบริหารโดยกล่าวถึงองค์ประกอบขั้นมูลฐานของการบริหาร ได้แก่
1) การวางแผน (Planning)
2) การจัดองค์การ (Organizing)
3) การบังคับบัญชา (Commanding)
4) การประสานงาน (Coordinating)
5) การควบคุม (Controlling)
2.8 LuthurGulick and LyndallUrwickเป็นนักบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์บริหารงานโดยหวังผลงานเป็นใหญ่ (Task Centered) เขาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหาร สรุปย่อได้ว่า POSDCoRBดังนี้
1) P = Planning การวางแผน
2) O = Organization การจัดองค์การ
3) S = Staffing การจัดคนเข้าทำงาน
4) D = Directing การอำนวยการ, การสั่งการ
5) Co = Coordinating การประสานงาน
6) R = Reporting การรายงาน
7) B = Budgetingการบริหารงบประมาณ
3. ยุค Human Relation เป็นยุคที่มีความเชื่อว่างานใด ๆ จะบรรลุผลสำเร็จได้จะต้องอาศัยคนเป็นหลักนักบริหารกลุ่มนี้จึงหันมาสนใจศึกษาพัฒนาทฤษฎี วิธีการและเทคนิคต่าง ๆทางด้านสังคมศาสตร์ พฤติกรรมและกลุ่มคนในองค์การสนใจศึกษาแนวทางประสานงานให้คนเข้ากับสิ่งแวดล้อมของงานเพื่อหวังผลในด้านความร่วมมือ ความคิด ริเริ่มและการเพิ่มผลผลิตโดยมีพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า "มนุษยสัมพันธ์"จะนำไปสู่ความพอใจและสะท้อนถึงผลของการปฏิบัติงาน บุคคลสำคัญในยุคนี้ ได้แก่
3.1 Elton Mayo ชาวออสเตรีย ในฐานะนักวิชาการอุตสาหกรรม มีผลงานมากในแง่ปัญหาบุคคลกับสังคมของอุตสาหกรรม และพฤติกรรมของบุคคลในสภาพแวดล้อมการทำงาน สรุปการทดลองที่ Hawthorne ได้ว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตของคนงาน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นมาจากการที่คนมาทำงานร่วมกันโดยก่อรูปไม่เป็นทางการการให้รางวัลและลงโทษเป็นตัวกระตุ้นให้สมาชิกทำงานได้ดีที่สุดการมีส่วนร่วมของสมาชิก จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของงาน และความก้าวหน้าขององค์การ
3.2 Mary Folletteชาวอเมริกัน ได้เขียนตำราที่มีแนวคิดในเชิงมนุษยสัมพันธ์เช่น เขียนเรื่องความขัดแย้ง การประสานความขัดแย้ง กฎที่อาศัยสถานการณ์และความรับผิดชอบ เป็นต้น
3.3 Likertเป็นผู้ที่สนใจด้านพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ ผลงานที่มีชื่อ เสียงมาก คือ The Human Organization: Its management and Value และหนังสือ New Patterns of Management
4. ยุค Behavioral Science เป็นยุคที่มีความพยายามศึกษา และวิเคราะห์วิจัย มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและค้นคว้าทฤษฎีใหม่ ๆเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

สรุป
พัฒนาการทฤษฎีในการบริหารเกิดจากความต้องการในการเพิ่มทักษะในการทำงานการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  โดยการแสวงหาวิธีการทำงานที่ดีและเหมาะสมที่สุด  (One  Best  Way)และปรับปรุงเพื่อให้การแก้ไขปัญหาด้านบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการขององค์การจากแนวคิดและทฤษฎีทางการจัดการข้างต้นจะเป็นแนวทางที่ผู้บริหารสามารถนำมาปรับใช้ได้และสามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับแนวคิดและทฤษฎีทางการบริหารเพื่อที่จะทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจกำหนดแนวทางที่มีความเหมาะสมตลอดจนองค์การสามารถบรรลุผลสำเร็จตามที่ต้องการได้อย่างราบรื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น