แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ รุจิรา เรือนเหมย

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะห์การบริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
          โรงเรียนบ้านปะหละทะ ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้าน ปะหละทะ หมู่ที่ 1  ตำบลแม่ละมุ้ง  อำเภออุ้มผาง  จังหวัดตาก  ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2500 โดยมีนายทวี จาดดี เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ทำการก่อกวนรอบๆหมู่บ้านทำให้ไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของครู ทางจังหวัดตาก จึงได้สั่งปิดโรงเรียนเป็นการชั่วคราวและได้เปิดทำการอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2527 โดยได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีนายวิมุต จันเปียง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

คำขวัญ
          เรียนดี มีวินัย ใจอดทน ผลงานเด่น

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน


การเดินทาง
โรงเรียนบ้านปะหละทะ อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 26 กม. ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 เป็นระยะทาง 193 กม. สามารถเดินทางได้โดยรถยนต์ ไม่มีรถโดยสารประจำทาง
การติดต่อสื่อสาร
1.       โทรศัพท์ผ่านจานดาวเทียม ของโครงการ MOE net ผ่านหมายเลข 055560159 (ไม่มีคู่สายขององค์การโทรศัพท์ และไม่มีคลื่นโทรศัพท์มือถือ)
2.       วิทยุ คลื่นความถี่ 147.400 นามเรียกขาน ปะหละทะ
3.       เว็บไซท์ : http://banpalata.blogspot.com
4.       อีเมล์ : banpalata@gmail.com , palata_school@hotmail.com

ตารางแสดงจำนวนครู
ลำดับ
ชื่อ – นามสกุล
ตำแหน่ง
การศึกษา
ประจำชั้น
1
นายวิมุต  จันเปียง
ผู้อำนวยการ
ปริญญาโท (บริหาร)
-
2
นายเฉลิมชัย  จินะ
ครู คศ.1
ปริญญาโท (บริหาร)
ประถมศึกษาปีที่ 1
3
นางสาวรุจิรา เรือนเหมย
ครู คศ.1
ปริญญาโท (เทคโนโลยีทางการศึกษา)
มัธยมศึกษาปีที่ 3
4
นางสาวจุฬารัตน์ แสนเมืองอินทร์
ครู คศ.1
ปริญญาตรี (เคมี)
มัธยมศึกษาปีที่ 1
5
นายสุรชัย ไทยสาย
ครู คศ.1
ปริญญาตรี (ภาษาไทย)
มัธยมศึกษาปีที่ 2
6
นายอนุสรณ์  องอาจ
ครูผู้ช่วย
ปริญญาโท (บริหาร)
มัธยมศึกษาปีที่ 3
7
นางสาวเบญจรัตน์  สีลาดี
ครูผู้ช่วย
ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ)
ประถมศึกษาปีที่ 4
8
นางสาวอรุณนี  บุญตั้ง
ครูผู้ช่วย
ปริญญาโท (บริหาร)
ประถมศึกษาปีที่ 2
9
นางสาวดวงพร ทิพกนก
ครูผู้ช่วย
ปริญญาตรี (คณิตศาสตร์)
ประถมศึกษาปีที่ 6
10
นางสุกันยา กันทวงษ์
พนักงานราชการ
ปริญญาตรี (เทคโนโลยีการเกษตร)
ประถมศึกษาปีที่ 3
11
นางสาววีระวรรณ จันเปียง
พนักงานราชการ
ปริญญาตรี (การท่องเที่ยว)
-
12
นางสายสวาท หมูมา
อัตราจ้าง
ปริญญาตรี (คณิตศาสตร์)
ประถมศึกษาปีที่ 5
12
นางปริศนา ไทยสาย
ครูจ้างสอน
อนุปริญญา (พยาบาล)
-
13
นางสาวสิริกานต์ ศรีโสภาบุปผา
ครูช่วยสอน
ม.6
ประถมศึกษาปีที่ 1
14
นางสาวแสงจันทร์  ชิตนภากาศ
ครูช่วยสอน
ม.6
ประถมศึกษาปีที่ 2
15
นายอร่าม  นันทะใจ
นักบริการ
ม.6
-

ในปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านปะหละทะ มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 15 คนแบ่งเป็นชาย 5 คน หญิง 10 คน ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ 1 คน ข้าราชการครู 8 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ครูจ้างสอน 1 คน ครูช่วยสอน 2 คน และนักบริการจำนวน 1 คน
ปีการศึกษา 2554 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 270 คน แบ่งเป็น ชั้นประถมศึกษา จำนวน 200 คน ชาย 108 คน หญิง 92 คน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 70 คน  ชาย 32 คน หญิง 38 คน
โรงเรียนบ้านปะหละทะมีเขตพื้นที่บริการ จำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านปะหละทะ หมู่บ้านเซปะหละ  (4 กม.) หมู่บ้านป่าพลู (23 กม.) และหมู่บ้านแม่ละมุ้งคี (28 กม.) ประชากรเป็นขาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง 100 เปอร์เซ็นต์ ประชากรในหมู่บ้านมีฐานะยากจน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ข้าว ข้าวโพด ฟักทอง

ตารางสรุปจำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านปะหละทะ
ปีการศึกษา 2554
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
ป.1
17
19
36
ป.2
23
10
33
ป.3
20
17
37
ป.4
21
16
37
ป.5
12
16
28
ป.6
15
14
29
รวมประถม
108
92
200
ม.1
9
12
21
ม.2
14
8
22
ม.3
9
18
27
รวมมัธยม
32
38
70
รวมทั้งหมด
140
131
270

 











  วิเคราะห์การบริหารงานโรงเรียน
โรงเรียนบ้านปะหละทะตั้งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกล อีกทั้งมีระยะทางที่คดเคี้ยวเต็มไปด้วยหุบเขาและหน้าผาตลอดระยะทาง 1,219 โค้ง ในระยะทาง 193 กิโลเมตร แต่กลับใช้เวลาในการเดินทางไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง (สำหรับผู้ไม่คุ้นเคยเส้นทาง) ซึ่งทั้งอันตรายและยากลำบากในการเดินทาง ประกอบกับการติดต่อสื่อสารค่อนข้างลำบาก เนื่องจากไม่มีคู่สายโทรศัพท์ และคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือ หมายเลขโทรศัพท์ที่โรงเรียนได้รับจัดสรรมาจากโครงการ MOE net ซึ่งเป็นเบอร์โทรศัพท์จากจานดาวเทียม พร้อมกับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงเวลาฝนฟ้าคะนอง หากไฟฟ้าดับ ก็จะขาดการติดต่อจากโลกภายนอก ซึ่งจะเป็นลักษณะนี้บ่อยครั้ง ทางโรงเรียนจึงมีการนำวิทยุสื่อสาร เข้ามาใช้ในโรงเรียน อย่างน้อยหากไฟฟ้าดับ ไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางอื่นได้ ก็จะใช้วิทยุสื่อสาร ในการติดต่อกับโรงเรียนอื่นๆได้ และจากการที่มีข้อจำกัดด้านปัจจัยพื้นฐาน ข้าราชการครูที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนเมื่ออยู่ครบการประเมินครูผู้ช่วย 2 ปี ก็จะย้ายกลับภูมิลำเนา ทำให้อัตราการย้ายออกมีสูง และยากต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและบริหารงานให้ต่อเนื่อง
จากจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบ้านปะหละทะ ทั้งสิ้น 15 คน เป็นคนในพื้นที่จำนวน 8 คน การแบ่งงานหรือการมอบหมายงานให้ครูรับผิดชอบ ผู้บริหารจะคำนึงถึงคนในพื้นที่ให้เป็นหลักส่วนคนอื่นๆจะรองลงมา รวมไปถึงการมอบหมายงานพิเศษอื่นๆผู้บริหารจะถามความสมัครใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในที่ประชุมก่อนว่า รับผิดชอบได้หรือเปล่า หากได้ ก็จะทำการมอบหมายงาน และหากไม่ได้ ก็จะให้ที่ประชุมเสนอบุคคลที่เหมาะสมอื่นๆซึ่งผู้ที่ได้รับมอบหมายก็จะทำหน้าที่ของตนเอง ตามที่ได้รับมอบหมาย ตามความสมัครใจเป็นหลัก หากเสนอกันไม่ลงตัว ผู้บริหารก็จะเป็นคนตัดสินใจ สั่งการมอบหมายหน้าที่ตามที่ผู้บริหารเห็นสมควร และการทำงานในแต่ละครั้ง หากผู้บริหาร ต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอะไร ก็จะบอกให้ทำชิ้นงานนั้นเลย โดยที่ผู้บริหารจะไม่เข้ามาก้าวก่ายหรือตรวจสอบการทำงาน จะดูเพียงแต่ผลผลิตของงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น เช่น กรณีที่จะมีผู้เข้ามาประเมินโรงเรียน ผู้บริหารก็จะมอบหมายให้ครูทำสไลด์ หรือวิดีทัศน์นำเสนอโรงเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะมาประเมิน ผู้บริหารจะให้อิสระในการนำเสนอแนวคิดหรือวิธีการที่จะนำเสนอ
ในกรณีที่ผู้บริหาร ได้รับทราบข่าวที่เป็นประโยชน์ของคณะครู ที่ต้องการมีความมั่นคงในหน้าที่การงานเกี่ยวกับการสอบบรรจุครู ที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งมา ผู้บริหารก็จะนำข่าวสารที่ได้รับมาแจ้งให้ทราบในที่ประชุมและให้พนักงานราชการ หรือครูอัตราจ้าง เตรียมตัวอ่านหนังสือ และให้ครูประจำการช่วยชี้แนะแนวทางในการอ่านหนังสือ ทำข้อสอบ หรือทำแฟ้มผลงานให้กับคณะครูดังกล่าว และบางครั้ง ผู้บริหารก็จะให้คณะครูได้หยุดพักอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ เพื่อที่จะไปทำการสอบ ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องห่วงเรื่องงานการสอน
โรงเรียนบ้านปะหละทะมีพื้นที่โรงเรียนกว่า 30 ไร่ และแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองฝั่งถนน โดยฝั่งหนึ่งจะเป็นพื้นที่ที่เป็นอาคารเรียน อาคารประกอบอื่นๆ และเนื่องจากบริเวณโรงเรียนเป็นพื้นที่ราบ อยู่ใกล้ธรรมชาติ ด้านหลังเป็นทุ่งนาและภูเขา ภายในบริเวณโรงเรียนก็จะมีความร่มรื่นจากต้นไม้ที่นักเรียนช่วยกันปลูกในแต่ละปี ทั้งไม้ดอก ไม้ผล ภูมิทัศน์ของโรงเรียนมีความสวยงาม เป็นที่ชื่นชมของบุคคลที่เข้ามาเยี่ยมชมโรงเรียน ส่วนอีกฝั่งของถนน จะเป็นบริเวณบ้านพักครู โดยบ้านพักครู ที่ได้รับจัดสรรจากงบประมาณส่วนกลาง จำนวน 3 หลัง และที่สร้างโดยใช้วัสดุท้องถิ่นภายในหมู่บ้านอีก 2 หลัง ซึ่งเพียงพอกับจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งบ้านพักแต่ละหลังผู้บริหารจะทำการปรับปรุงให้ใช้การได้ดีอยู่เสมอ โดยให้นักบริการ เข้ามาช่วยดูแลซ่อมแซมให้ โดยคณะครูไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และในแต่ละเดือน ผู้บริหารก็ให้มีการจัดเลี้ยงของแต่ละบ้าน โดยบ้านแต่ละหลังจะทำกับข้าวมา 1 หรือ 2 อย่าง แล้วแต่ความสมัครใจ แล้วมารับประทานอาหารร่วมกัน ที่บ้านหลังใดหลังหนึ่ง สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปจนครบปีการศึกษา โดยเริ่มที่บ้านผู้บริหารเป็นหลังแรก เพื่อให้คณะครูได้พบปะสังสรรค์พูดคุยนอกเวลาราชการ
           ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีของการทำงาน คือเข้ามาทำงาน ตรวจหนังสือเข้า เดินสำรวจ ตรวจตราโรงเรียนตอนเช้า โดยจะเข้ามาโรงเรียนประมาณ 7.00 น. เมื่อคณะครูเห็นว่า ผู้บริหารเข้ามาทำงานเช้า ผู้ใต้บังคับบัญชาก็เข้ามาทำงานเช้าตามไปด้วย

ทฤษฎีที่ใช้ในการเป็นกรอบแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์
วอน  ฮัลเลอร์ บี.กิลเมอร์  (Von Haller B. Gilmer)  สรุปองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อความพอใจในการทำงานไว้ 10 ประการ ดังนี้
1.    ความมั่นคงปลอดภัย ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน เช่น การประกันสุขภาพ  อุบัติเหตุ  และชีวิต การเก็บสะสมเงิน การให้บำเหน็จบำนาญ เมื่อเกษียณอายุ การมีงานทำไม่ตกงาน เป็นต้น
2.    โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน ได้แก่ การมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นจากความรู้ความสามารถในการทำงานเป็นต้น
3.    สถานที่ทำงานและการจัดการ ได้แก่ ความพอใจต่อสถานที่ทำงาน ตลอดจนชื่อเสียงและการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ
4.    ค่าจ้าง สำหรับค่าจ้างหรือรางวัลนั้นต้องมีความเสมอภาค สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้ปฏิบัติงานและมีลักษณะจูงใจทั้งภายในและภายนอก
5.    ลักษณะของงานน่าสนใจ เช่น งานที่มีความเป็นอิสระ งานที่ไม่จำเจ น่าเบื่อ งานที่ท้าทายความสามารถ เป็นต้น
6.    การควบคุมบังคับบัญชา การควบคุมบังคมบัญชาที่ไม่ดีอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนย้ายงานและลาออกจากงานได้
7.    ลักษณะทางสังคม ถ้าผู้ปฏิบัติงานทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขก็จะเกิดความพอใจในงานนั้น
8.    การติดต่อสื่อสาร การปฏิบัติงานในทุกระดับที่จะได้ผลดีนั้นต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นการจูงใจต่าง ๆ ก็ต้องใช้การติดต่อสื่อสารที่ดี
9.    สภาพการทำงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงทำงาน ต้องมีความเหมาะสมกับงานนั้น ๆ
10.   สิ่งตอบแทนหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ เช่น เงินบำเหน็จตอบแทน เมื่อออกจากงาน การบริการรักษาพยาบาล สวัสดิการที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ทฤษฎีระดับความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs Theory)  Abraham Maslow (1943) เชื่อว่าบุคคลจะถูกจูงใจด้วยความต้องการ ซึ่งเป็นไปตามลำดับ 5 ขั้น คือ
ลำดับที่1 ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs) เป็นความต้องการเกี่ยวกับ อาหาร น้ำ การนอนหลับ และสิ่งอื่นๆที่จะใช้ตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย ความต้องการนี้เป็นความต้องการพื้นฐานขั้นแรกของมนุษย์ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้มีชีวิตรอดอยู่ ทำให้มนุษย์จำต้องใฝ่หาสิ่งเหล่านี้มาตอบสนองก่อนสิ่งอื่นใด เมื่อได้รับการตอบสนองในระดับนี้แล้ว มนุษย์จึงจะมีความต้องการในขั้นที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นด้านที่เกี่ยวกับจิตใจหรือความนึกคิด
ลำดับที่ 2 ความต้องการด้านความปลอดภัย หรือความมั่นคง ( Security or Safety Needs) ภายหลังจากการที่ร่างกายได้รับการตอบสนอง มนุษย์ก็จะเริ่มคิดถึงเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคง เช่นรู้สึกว่าการงานอาชีพของตนมีความมั่นคง การมีรายได้ที่แน่นอน มีที่อยู่อาศัยของตนเอง มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น
ลำดับที่ 3 ความต้องการทางสังคม หรือความต้องการความเป็นเจ้าของและความรัก  ( Social or Belonging and love needs) ภายหลังจากได้รับการตอบสนองในสองขั้นดังกล่าวแล้ว มนุษย์จะมีความต้องการที่สูงขึ้นคือ ความต้องการด้านสังคม เป็นความต้องการที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรต่างๆ อยากคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น ต้องการมิตรภาพและความเห็นใจจากกลุ่ม ต้องการให้เป็นที่ต้องการของกลุ่ม บุคคลจะทำตัวให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม ให้เป็นผู้มีความสำคัญ มีบุคคลต่าง ๆ รักใคร่ชอบพอตน เป็นความต้องการด้านจิตใจ
ลำดับที่ 4 ความต้องการ การยกย่อง ยอมรับนับถือ หรือมีฐานะเด่นในสังคม (Esteem or Status needs) เป็นความต้องการที่ประกอบด้วย ความมั่นใจในตนเอง ความสามารถ ความรู้ และความสำคัญในตัวเอง รวมทั้งต้องการมีฐานะเด่นเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น อยากให้บุคคลอื่นสรรเสริญนับถือ เช่นการมีตำแหน่งสูงๆ เป็นต้น
ลำดับที่ 5 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จสมหวัง ( Self- actualization needs) เป็นลำดับขั้นความต้องการสูงสุดของมนุษย์  คือความต้องการที่อยากจะสำเร็จทุกสิ่งทุกอย่างตามความนึกคิด ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ในชีวิตครอบครัว ฐานะเศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น
ทั้งนี้ ทฤษฎีนี้ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป ไม่ได้เน้นเฉพาะพฤติกรรมในงานหรือในองค์กร ( Huber:1996,362) นักพฤติกรรมศาสตร์มีความเห็นว่าทฤษฎีของมาสโลว์ ยังมีจุดอ่อนอยู่ กล่าวคือ พฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละคนไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องมีสาเหตุจากความต้องการอย่างเดียวกัน ความต้องการของคนไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับขั้น คนอาจมีความต้องการไม่ครบทั้ง 5 ด้านก็ได้ คนอาจมีความต้องการหลายๆระดับในเวลาเดียวกันได้ อย่างไรก็ดีทฤษฎีนี้ก็มีประโยชน์ต่อการบริหาร โดยชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีความต้องการ หากผู้บริหารทราบความต้องการของผู้ปฏิบัติงานแล้ว ก็จะสามารถจูงใจให้ปฏิบัติตามที่ผู้บริหารต้องการได้ (ไพลิน ผ่องใส : 2536)
ทฤษฎีการจูงใจของแมคเกรเกอร์ (McGregor Theory X and theory Y )
แมคเกรเกอร์ (1960) ศาสตราจารย์ด้านการบริหารของ  MIT( Massachusetts Institute of Technology) สหรัฐอเมริกา ได้ให้แนวความคิดการบริหารงานของผู้บริหารที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาว่า การที่ผู้บริหารจะใช้พฤติกรรมการบริหารลักษณะใด หรือใช้การจูงใจประเภทใดนั้นขึ้นกับว่าผู้บริหารมีความเชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานเป็นคนในทฤษฎี X หรือ Y ผู้บริหารที่เชื่อในทฤษฎี X จะใช้การจูงใจแบบนิเสธ ส่วนผู้บริหารที่เชื่อในทฤษฎี Y จะใช้วิธีการจูงใจแบบนิมาน
      ทฤษฎี X เชื่อว่าคนมีลักษณะดังนี้
·       คนทั่วไปไม่ชอบทำงาน ถ้ามีโอกาสจะหลีกเลี่ยงงาน
·       ต้องใช้การบังคับ ควบคุม ขู่เข็ญและลงโทษเพื่อให้ทำงานตามต้องการ
·       ชอบเป็นผู้ตาม ต้องคอยชี้แนะแนวทางการทำงาน มีความทะเยอทะยานน้อย ขอเพียงแต่ให้มีความมั่นคงปลอดภัยในการทำงานก็พอใจแล้ว
พฤติกรรมการบริหารของผู้นำจะเป็นไปตามความเชื่อ คือ ใช้วิธีควบคุมงานใกล้ชิด คอยแต่จะจับผิด และไม่ให้ทั้งเสรีภาพและโอกาส
ทฤษฎี Y เชื่อว่าคนมีลักษณะดังนี้
·       มีความรับผิดชอบในการทำงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ
·       ชอบเป็นตัวของตัวเอง ชอบควบคุมตนเองในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
·       มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามรถและเฉลียวฉลาด
พฤติกรรมการบริหารของผู้นำจะเป็น ให้เสรีภาพแก่ผู้ทำงาน ให้โอกาสทดลอง ริเริ่มและทำงานด้วยตนเอง ควบคุมอยู่ห่างๆ
McGregor ให้ข้อเสนอแนะว่า ในการจูงใจคนให้ทำงาน ผู้บริหารต้องยอมรับทฤษฎี Y ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นของเขาได้ โดยการเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็น ใช้ความคิดริเริ่มใหม่ๆ และมีอิสเสรีมากขึ้น สามารใช้ความรู้ความสามารถที่มีได้อย่างเต็มที่ และมีการควบคุมทางอ้อม การใช้ทฤษฎีนี้จะเปิดโอกาสให้มีการจูงใจคนได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนมากกว่า ซึ่งผลที่ตามมาคือการให้บริการแก่ผู้รับบริการดีขึ้น มากขึ้น ทำให้สังคมมีการตอบสนองที่ดีต่อองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น