แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ รุจิรา เรือนเหมย

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การตัดสินใจและการสั่งการ

ความหมายของการตัดสินใจ (Decision Making)
มีนักวิชาการด้านการบริหารได้ให้ความหมายคำว่าการตัดสินใจไว้มากมายหลายความหมายเช่นWilliam J. Gore  และ  J.W. Dysonว่าการตัดสินใจหมายถึงการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจากทางเลือกซึ่งมีอยู่หลายทางเป็นแนวทางในการปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
          Herbert  Simonการตัดสินใจคือกระบวนการที่ประกอบด้วยหลัก 3 ประการคือ
1. การหาโอกาสที่จะตัดสินใจ
2. การหาหนทางเลือกที่พอจะเป็นไปได้
3. และเลือกทางเลือกจากทางเลือกต่างๆที่มีอยู่
GeorgeR.Terryได้ให้ความหมายของการตัดสินใจคือการตกลงใจคัดเลือกแนวทางการดำเนินงานทางหนึ่งจากที่มีให้เลือกหลายแนวทางโดยอาศัยเกณฑ์บางอย่างเป็นพื้นฐานประกอบการคัดเลือก
จากแนวคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการตัดสินใจเป็นภารกิจของนักบริหารที่จะต้องพิจารณาดำเนินการเพื่อคัดเลือกแนวทางในการดำเนินงานขององค์การภายใต้ความรู้ข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ในการพิจารณาคัดเลือกนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายองค์การ
แบบของการตัดสินใจ(Types of Decision Making)
นักวิชาการด้านบริหารได้จำแนกแบบของการตัดสินใจออกเป็นหลายแบบแต่ในที่นี้ขอนำเสนอเพียง  2  แบบดังนี้
1. การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึกประสบการณ์ความรู้สึกต่างๆของตนเองเป็นตัวตัดสินใจ โดยมิได้ใช้หลักการและเหตุผล ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วแต่ความรู้สึกของผู้ตัดสินใจที่คิดว่าเหมาะสมเพียงใด หรือถูกต้องเพียงใด ซึ่งวิธีนี้มักจะมีความแตกต่างกันไปเฉพาะแต่บุคคล
2. การตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลเป็นการตัดสินใจที่ใช้หลักเหตุผลหรือหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่แน่นอนมิใช่เป็นการตัดสินใจโดยความรู้สึกอารมณ์ของแต่ละบุคคลแต่เป็นการตัดสินใจที่มีเหตุมีผลโดยอาจใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งอาจจะประกอบด้วยเทคนิคต่างๆในการตัดสินใจเช่นการใช้วิธีคำนวณมูลค่าปัจจุบันหรือระยะคืนทุนของโครงการในการตัดสินใจเป็นต้น
การตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลยังสามารถจำแนกได้อีก 2 แบบคือ
1. การตัดสินใจที่ได้มีการตระเตรียมกันมาก่อนล่วงหน้า (Programmed Decision Making) มักจะเป็นการตัดสินใจที่ส่วนหนึ่งเป็นการตัดสินใจของตนเองตัดสินใจไปตามนิสัยวัฒนธรรมขององค์การ
2.การตัดสินใจที่ไม่ได้มีการตระเตรียมไว้ล่วงหน้า (Non Programmed Decision Making) มักจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่ปรากฏขึ้นบ่อยนักชั่วครั้งชั่วคราวเป็นการทดสอบความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารโดยตรง ว่าผู้บริหารมีการตัดสินใจในเรื่องที่ไม่ได้มีการตระเตรียมไว้ล่วงหน้าอย่างไร
 

กระบวนการในการตัดสินใจ(Process in Decision Making)
                    นักวิชาการด้านบริหาร William Newman   และ Charles E.Summerกล่าวว่ากระบวนการหรือขั้นตอนในการตัดสินใจมีอยู่ 4 ขั้นตอนคือ
1. ทำการระบุปัญหา
2. ค้นหาหรือแสวงหาทางเลือกช่วยการแก้ปัญหา
3. วิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ
4. เสนอทางเลือกที่จะนำไปใช้ช่วยการแก้ไขปัญหา
Edwin Flippoได้นำเสนอขั้นตอนการตัดสินใจไว้ 5 ขั้นตอนคือ
1. ระบุและวิเคราะห์ปัญหา
2. กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้หลายๆทางเลือก
3. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆ
4. เลือกแนวทางที่ดีที่สุด
5. นำแนวทางที่เลือกไปปฏิบัติ
Terence R Michellได้กล่าวถึงการบริหารการตัดสินใจไว้  6  ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ
2. ระบุปัญหา
3. การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
4. การระบุทางเลือกในการแก้ไข
5. การตัดสินใจทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
6. นำทางเลือกไปปฏิบัติการให้บรรลุ
เทคนิคในการตัดสินใจ(Decision Making Techniques)
การตัดสินใจของนักบริหารจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยข้อมูลและเทคนิคต่างๆประกอบเพื่อการตัดสินใจให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งเทคนิคที่ใช้ในการตัดสินใจมีอยู่หลายประการและที่นิยมใช้แพร่หลายมีดังนี้
1. วิธีกำหนดเกณฑ์และถ่วงน้ำหนัก(The weights and criteria)หากผู้บริหารเลือกใช้วิธีกำหนดเกณฑ์และถ่วงน้ำหนักจะต้องกำหนดเกณฑ์ (Criteria) ในการพิจารณาพร้อมกับถ่วงน้ำหนักในแต่ละเกณฑ์ด้วย
2. เทคนิคการตัดสินใจแบบเดลฟีวิธีการนี้เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆประมาณ15 – 20 คนมาออกความเห็นในเรื่องนั้นๆ โดยส่งแบบสอบถามที่เตรียมไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแล้วนำมาสรุป
3. แบบระดมสมองโดยเริ่มต้นจากกลุ่มประมาณ 6 – 10 คนร่วมกันแสวงหาคำตอบในปัญหาเรื่องนั้นๆโดยสร้างบรรยากาศของความร่วมมือที่ดีต่อกันไม่มีการวิจารณ์แนวคิดหรือทำลายแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์กระตุ้นให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์อย่างกว้างขวาง
                    4. วิธีตัดสินใจแบบต้นไม้วิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก่อนที่จะตัดสินใจ

สรุป
การตัดสินใจเป็นกระบวนการเลือกทางเลือกเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติจากหลายทางเลือก ( Alternative ) ที่มีอยู่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน การตัดสินใจจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการวางแผนเฉพาะฉะนั้นเมื่อมีการเลือกทางใดทางหนึ่งทางเลือกที่ดีที่เหมาะสมนั้นย่อมเป็นแนวทางนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การเช่นการวางแผนของกิจการผู้บริหารต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายและความยุ่งยากต่างๆในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดและในขณะเดียวกันการตัดสินใจทางเลือกก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์เช่นกันดังนั้นการตัดสินใจเลือกทางเลือกของมนุษย์เรานั้นจะขึ้นอยู่กับความรู้ประสบการณ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆและอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น