แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ รุจิรา เรือนเหมย

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้อมูลเชิงคุณภาพ VS ข้อมูลเชิงปริมาณ

ข้อมูลเชิงคุณภาพ  หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถเปรียบเทียบเชิงปริมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่าได้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลที่แสดงฐานะ สถานภาพ คุณสมบัติ ตัวอย่างของข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ ชื่อของพนักงานในบริษัท เพศ วัน เดือน ปี ชนิดของสินค้า เป็นต้น  ถึงแม้ว่าข้อมูลประเภทนี้จะกำหนดด้วยตัวเลขก็ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับเชิงปริมาณได้เช่น หมายเลขโทรศัพท์ บ้านเลขที่ หรือการกำหนดตัวเลขแทนข้อมูลบางอย่าง เช่น 1 แทนเพศชาย  และ 2 แทนเพศหญิง แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า 2 มีค่ามากกว่า 1 ตัวเลขทั้งสองเป็นแต่เพียงแสดงว่าแตกต่างกัน  เท่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเบื้องต้นจะกระทำได้ด้วยการเปรียบเทียบจำนวนความถี่ของข้อมูล หรือการเปรียบเทียบ    ปริมาณของค่าสัมพัทธ์  ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลประเภทนี้ไม่สามารถบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้
ข้อมูลเชิงปริมาณ หมายถึง ข้อมูลที่แสดงปริมาณ หรือขนาดที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในลักษณะมากกว่าหรือน้อยกว่าเป็นจำนวนเท่าไร ข้อมูลประเภทนี้มักเป็นข้อมูลที่แสดง ค่าเป็นตัวเลข เช่น จำนวนนักศึกษาในวิทยาลัยต่าง ๆ อายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า อุณหภูมิของร่างกายของคนป่วยหลังจากการผ่าตัด เป็นต้น
          ข้อสังเกตสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ จะพบว่า ข้อมูลบางอย่างมีลักษณะคล้ายกันมากแต่จัดอยู่คนละประเภท ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ จากการสำรวจความรู้สึกของลูกค้าที่เข้ามารับบริการของโรงแรม  โดยใช้แบบสอบถามเป็นคำถามปลายปิด เชตของกระทงคำถามกลุ่มหนึ่งให้ผู้ตอบเลือกคำตอบได้ 2 ประการคือ “พอใจ” กับ “ไม่พอใจ”  เซตของกระทงคำถามอีกกลุ่มหนึ่งกำหนดลำดับของความรู้สึกเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ “พอใจมาก” “พอใจ” “ไม่ค่อยพอใจ” และ “ไม่พอใจเลย”  จากตัวอย่างที่ยกมา ข้อมูลจากกระทงคำถามทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายกันมาก คือเป็นระดับความรู้สึกของผู้ตอบที่มีต่อบริการของโรงแรม แต่จะเห็นว่ามี ข้อแตกต่างกันที่  คำตอบ ในกลุ่มแรกจะแสดงถึงความแตกต่างของความรู้สึก ส่วนคำตอบในกลุ่มที่สองจะแสดงน้ำหนักของความรู้สึกซึ่งเปรียบเทียบกันในลักษณะมาก - น้อยได้   ดังนั้นข้อมูลจากคำถามกลุ่มแรกจึงจัดเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลจากคำถามในกลุ่มที่สองเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ
           เนื่องจากการวิจัยทางการบริหารการศึกษาส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ และการบริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ความสามารถในการทำงานร่วมกับมนุษย์สูงมาก การแสวงหาความรู้ความจริงด้วยการวิจัยการวิจัยของนักบริหารการศึกษาจำเป็นต้องใช้วิธีการนิรนัย (deductive) คือการเริ่มต้นจากหลักการทฤษฎีแล้วไปแสวงหาความรู้ตามหลักการทฤษฎีนั้นกับวิธีการอุปนัย (inductive) คือการแสวงหาความรู้ ความจริงจากปรากฏการณ์ หรือความรู้ย่อยๆแล้วค่อยๆสร้างเป็นหลักการและทฤษฎีขึ้นมา ดังที่กล่าวแล้วว่าศาสตร์ทางการบริหารการศึกษาเกี่ยวข้องกับมนุษย์สูงมาก ดังนั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพจึงมีความสำคัญต่อการวิจัยทางการบริหารการศึกษาด้วย

11 ความคิดเห็น:

  1. จากการสำรวจนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งพบว่า มีนักเรียนหญิงจำนวน 465 คน นักเรียนชาย 345 คน โดยวิธีการตรวจนับด้วยตัวเอง ย้อมูลที่ได้ เป็นข้อมูลประเภทใด เป็นข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือเป็นข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลเชิงปริมาณ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ข้อมูลปฐมภูมิ เชิงปริมาณ เนื่องจากตรวจนับด้วยตนเอง และสิ่งที่ได้เป็นตัวเลข ที่สามารถนำมาคำนวณต่อได้

      ลบ
  2. จากการตรวจงานนักเรียนพบว่า มีผลงานระดับดีเยี่ยมจำนวน 3 คน ระดับดี จำนวน 5 คน ระดับพอใช้ 10 คน และระดับต้องแก้ไข จำนวน 5 คน ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลประเภทใด

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ข้อมูลเชิงปริมาณ เนื่องจากเป็นการแปรมาจากน้ำหนักคะแนนของผลงานของนักเรียนแต่ละคน

      ลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. ขนาดของรองเท้านักกีฬา 7/8/9/10/11 เป็นข้องมูลชนิดใดคะ

    ตอบลบ
  5. ขนาดรองเท้า =เชิงคุณภาพ เพราะตัวเลขไม่สามารถนำมาคำนวณได้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ที่ผมเปิดดูข้อนี้เป็นปริมาณผมยัง งงอยู่เลย

      ลบ
  6. จำนวนสมาชิกในครอบครัว

    ตอบลบ